THAI FOREST ECOLOGICAL RESEARCH JOURNAL

ISSN 2586-9566 (Print) ISSN 2985-0789 (Online)

การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อประเมินพื้นที่เสี่ยงต่อการลักลอบทำไม้ ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน 

ชิติพันธ์ พยายาม1, กมลพร ปานง่อม2, อิสรีย์ ฮาวปินใจ3 และ ต่อลาภ คำโย4*
1สาขาวิชาการจัดการป่าไม้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ อ.ร้องกวาง จ.แพร่ 54140
2สาขาวิชาชีววิทยาประยุกต์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ อ.ร้องกวาง จ.แพร่ 54140
3สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมป่าไม้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ อ.ร้องกวาง จ.แพร่ 54140
4สาขาวิชาเกษตรป่าไม้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ อ.ร้องกวาง จ.แพร่ 54140
*ผู้รับผิดชอบบทความ: อีเมล: torlarp66@gmail.com
บทคัดย่อ

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์: การลักลอบทำไม้ทำไม้ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ เป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพและถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการลักลอบทำไม้และประเมินพื้นที่เสี่ยงในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน 

วิธีการ: ใช้ข้อมูลจุดลักลอบทำไม้ที่ลาดตระเวนพบในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 8 พื้นที่  ระหว่างปี พ.ศ.2563-2564 เพื่อสร้างแบบจำลองทางสถิติร่วมกับปัจจัยแวดล้อม คือ 1) ความสูงจากระดับน้ำทะเล 2) ความลาดชัน 3) ทิศด้านลาด 4) ระยะห่างจากแม่น้ำ 5) ระยะห่างจากถนน 6) ระยะห่างจากหมู่บ้าน 7) ระยะห่างจากหน่วยพิทักษ์ป่า และ 8) ดัชนีพืชพรรณ วิเคราะห์โดยโปรแกรม MaxEnt และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

ผลการศึกษา: แบบจำลองทางสถิติมีประสิทธิภาพอยู่ในเกณฑ์ดีมากต่อการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงการลักลอบตัดไม้ในพื้นที่ โดยมีค่าพื้นที่ใต้เส้นโค้ง (AUC)  เท่ากับ 0.805 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการลักลอบตัดไม้สูงสุด คือ ความสูงจากระดับน้ำทะเล ระยะห่างจากถนน และความลาดชัน โดยพื้นที่ใกล้ถนน มีระดับความสูงและความลาดชันต่ำถือเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการลักลอบทำไม้ ผลการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยง พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงน้อยมากที่สุด (คิดเป็นร้อยละ 78.58 ของพื้นที่ทั้งหมด) รองลงมาคือพื้นที่เสี่ยงปานกลาง (คิดเป็นร้อยละ 18.89) และพื้นที่เสี่ยงสูง (คิดเป็นร้อยละ 2.53) ตามลำดับ 

สรุป: การวางแผนลาดตะเวนเชิงคุณภาพ ควรดำเนินงานให้สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงของพื้นที่การลักลอบตัดไม้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพงานป้องกันและปราบปราม ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

คำสำคัญ: การประเมินพื้นที่เสี่ยง; ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์; แบบจำลองแมกซ์เซน; ป่าอนุรักษ์


Download full text (Thai pdf): 30 clicks